เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ทาง Audient ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ evo 16 ซึ่งเป็น Audio Interface ที่สามารถรองรับได้ถึง 24 Input | 24 Output เลยทีเดียว แต่ราคาเร้าใจมากจริงๆ ครับ ราคาจำหนายในไทยอยู่ที่ 18,900 บาท มาพร้อมฟังก์ชั่นล้ำๆอย่าง Smartgain ที่สามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ 8 input ซึ่งฟังก์ชั้นนี้มีมาตั้งแต่รุ่น evo 4 และ evo 8 และฟังก์ชั่นอื่นๆ อีก มาดูไปพร้อมๆ กันเลยนะครับ
Features
มาดู Features เด่นๆ ของ evo 16 กันครับ ว่ามีอะไรบ้าง
- 8 x EVO ปรีไมค์
- 2 x JFET Instrument Inputs - สำหรับกีต้าร์,เบส (Hi-z input)
- 2 x ช่องเสียบหูฟัง แยกอิสระ
- 8 x Line Outputs
- 2 x Optical Inputs (ADAT)
- 2 x Optical Outputs (ADAT)
- Smartgain ใช้งานพร้อมกันหลายแชลแนลได้
- ระบบควบคุม 'EVO Motion UI'
- มีปุ่ม Function ที่สามารถโปรแกรมได้
- ซอฟต์แวร์มิกเซอร์ Ultra-Low Latency
- มีระบบควบคุม Monitor
- มี Audio Loop-back
- มี Word Clock Output
- สามารถใช้งานในโหมด Standalone ได้ (ใช้งานเหมือนมิกเซอร์ โดยไม่ต้องต่อคอมพิวเตอร์)
- การเชื่อมต่อแบบ USB2.0 (พอร์ต USB-C)
- รองรับการทำงานที่ความละเอียดเสียงสูงสุด 24bit / 96kHz
- จอ LCD แสดงผลแบบเรียลไทม์
มาดูรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของ evo 16 กัน อาทิ Inputs ,Outputs ,Connection ต่างๆ
Inputs
มาดูภาพรวมของ Inputs ที่มีของ evo 16 มีแบบไหน ใช้งานอะไรได้บ้าง
Analogue Inputs
evo 16 มีอินพุทแบบอนาลอก (Analogue) มาให้ 8 ช่อง ในรูปแบบ Combo jack รองรับการใช้งาน กับไมค์ (Mic) 8 ช่อง โดยเสียบด้วยปลั๊ก XLR ,ไลน์ (Line) 8 ช่อง โดยเสียบด้วยปลั๊ก 1/4″ TRS, กีต้าร์-เบส (Hi-Z) 2 ช่อง คือเฉพาะช่อง 1,2 โดยเสียบด้วยปลั๊ก 1/4″ TS
Digital Inputs
evo 16 มีอินพุทแบบดิจิตอล (Digital) มาให้ 2 ช่อง เป็นแบบ ADAT สำหรับการขยายจำนวนอินพุท เพิ่มได้อีก 8×2 = 16 ช่อง (รวมกับที่มากับเครื่อง 8 ช่อง เป็น 24 Inputs เลยทีเดียวครับ) ซึ่งเราอาจจะหา Preamp มาต่อเพิ่ม อย่างเช่น Behringer ADA8200 ,Focusrite Clarett OctoPre ,Audient ASP880
Outputs
evo 16 มี outputs มากถึง 24 ช่อง เลยทีเดียว มาดูกันว่ามีแบบไหนบ้างครับ
Analogue Outputs
evo 16 มีเอ้าพุทแบบอนาลอก (Analogue) มาให้เป็น Line 8 ช่อง ในรูปแบบ Combo jack รองรับการใช้งานกับปลั๊ก XLR และ ปลั๊ก 1/4″ TRS
Digital Outputs
evo 16 มีเอ้าพุทแบบดิจิตอล (Digital) มาให้ 2 ช่อง เป็นแบบ ADAT สำหรับการขยายจำนวนเอ้าพุท สามารถเพิ่มได้อีก 8×2 = 16 ช่อง (รวมกับที่มากับเครื่อง 8 ช่อง เป็น 24 Outputs เลยทีเดียวครับ)
Headphone Outputs
evo 16 มีเอ้าพุทช่องเสียบหูฟัง มาให้ 2 ช่อง สามารถปรับความดังแยกช่องกันได้อย่างอิสระ
Connection อื่นๆ
AC Power เป็นช่องเสียบไฟบ้านโดยตรง เนื่องจาก Audio Interface ที่มีจำนวน Inputs ,Outputs เยอะๆ ต้องการไฟเลี้ยงค่อนข้างมากกว่า รุ่นเล็กๆ ที่มีแค่ 1-2 inputs ,Outputs ที่อาจจะใช้ไฟเลี้ยงจากสาย USB ได้เลย
W/CLOCK OUT เป็นปลั๊ก BNC สำหรับ Word Clock Output เพื่อใช้ evo 16 เป็น Master ในการ synchronize word clock ระหว่างอุปกรณ์ระบบเสียงและภาพที่รองรับ เพื่อให้ทำงานแม่นย่ำด้วย Time เดียวกัน แต่ถ้าหากต้องการให้ evo 16 ทำงานเป็น slave ก็สามารถใช้ผ่านทาง OPTICAL Inputs ได้ เช่นกัน
การเชื่อมต่อ evo 16 กับคอมพิวเตอร์ จะใช้พอร์ต USB ด้านหลังเครื่อง ซึ่งมาในรูปแบบ USB-C แต่ความเร็วในการส่งข้อมูลยังเป็น Version 2.0 ครับ สามารถใช้สาย USB-C หรือ USB-C to Type-A ได้
Controls
evo 16 มีการออกแบบ การควบคุมต่างๆ ออกมาค่อนข้างทันสมัย และเข้าใจได้ง่าย
One Knob Control
ตัวควบคุมหลักของ evo 16 คือ knob ตัวใหญ่ๆ ตัวเดียว ซึ่งเราได้เห็นมาแล้วตั้งแต่รุ่น evo 4 – evo 8 การใช้งานนั้นเข้าใจง่ายมาก โดยการกดปุ่มในจุดที่ต้องการปรับ แล้วหมุน knob เพื่อเปลี่ยนค่า
Function Button
ปุ่ม Function (ฟังก์ชั่น) ที่อยู่หน้าเครื่องนั้น เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นการควบคุมมอนิเตอร์ (Monitoring) ได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถโปรแกรมได้ดังนี้
- Mono - เป็นการรวมเสียง Stereo (ซ้าย-ขวา) เพื่อฟังแบบโมโน เพื่อเช็คเสียงในขั้นตอนการ Mixing
- ALT - เป็นฟังก์ชั่นสำหรับสลับไปฟังเสียงจากลำโพงมอนิเตอร์ตัวที่สอง เพื่อเช็ค Mix
- Dim - คือการลดระดับความดังของ Output ลงจาก Level ปกติ
- TB (Talkback) - เปิด/ปิด การใช้งานฟังก์ชั่น Talkback
บทสรุปจากผู้เขียน
ในความคิดเห็นส่วนตัว ผมขอสรุปสั้นๆ สำหรับผู้ที่กำลังคิดว่า evo 16 – 24 in/out Audio Interface ตัวนี้ เหมาะกับคุณหรือไม่ ?
Features ที่โดดเด่นและแตกต่าง
- ช่องเสียบหูฟัง 2 ช่อง ควบคุมได้อิสระ
- Phantom Power (48V) เปิด/ปิด การจ่ายไฟได้อิสระ ทั้ง 8 Inputs
- JFET Instrument Inputs มากว่า ถึง 2 ช่อง
- จำนวน Analogue Inputs ,Outputs ที่มาก ใช้งานได้ยืดหยุ่น
- i/o expand - มี OPTICAL i/o สามารถเพิ่มจำนวน 16 in/out (จากเดิม 8)
- Smartgain สามารถใช้งานพร้อมกันหลายแชลแนลได้
- มีปุ่ม Function ที่สามารถโปรแกรมได้ ทำให้เข้าถึงฟังก์ชั่นได้อย่างรวดเร็ว
- มีระบบควบคุมมอนิเตอร์ (Monitor Control)
- มี Audio Loop-back
- มี Word Clock Output
- สามารถใช้งานในโหมด Standalone ได้ (ใช้งานเหมือนมิกเซอร์ โดยไม่ต้องต่อคอมพิวเตอร์)
- จอ LCD แสดงผลแบบเรียลไทม์
- Motion UI - เมนูการใช้งานที่เข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก
- Routing Matrix ใน Software Mixer ทำให้ยืดหยุ่นในการ Routing
evo 16 เหมาะกับใคร ?
ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า evo 16 เหมาะกับงานที่ต้องการบันทึกเสียงหลายๆแชลเนลพร้อมๆกัน เช่น งานบันทึกเสียงกลองชุด หรืองานที่ต้องการบันทึกเสียงเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้น พร้อมๆกัน หรืออาจจะประยุกต์ใช้งานกับเอฟเฟคภายนอก เพื่อ Send/Return นำเข้าไปใช้งานใน DAW ก็ได้เช่นกันครับ
หากสนใจ evo 16 สามารถเช็คราคาโปรโมชั่นได้ที่ SHOPEE : https://shope.ee/79z5WQLz9c